ธปท. เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น มาจาก GDP หดตัว

ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ด้านนโยบายการเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่ 2/2563 ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือ GDP นั้นมีการหดตัวสูงเป็นสำคัญ

โดยในส่วนของยอดเงินต้นที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากมาตรการพักชำระหนี้ (รัฐบาลปล่อย 3 มาตรการกู้วิกฤต จ้างงาน แก้หนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจ) แต่ก็ยังมีการขยายตัวในอัตราชะลอที่ลดลง

ซึ่งหนี้ครัวเรือนจากการกู้ยืมของภาคครัวเรือนและ สินเชื่อสถาบันการเงินต่อ GDP ในไตรมาสที่ 2/63 นี้เป็นดังนี้

  • การกู้ยืมภาคครัวเรือนในไตรมาส 2/63 อยู่ที่ 13.58 ล้านบาท (*จากเดิม 13.49 ล้านบาท)
  • สินเชื่อสถาบันการเงินต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.8 จากเดิมอยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2

ประเมินเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้

  • ธปท. ได้มีการประเมินว่าในช่วงครึ่งปีหลังไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2563 นี้ เศรษฐกิจยังคงขยายตัวติดลบ แต่อาจจะน้อยกว่าไตรมาสที่ 2/2563
  • ซึ่งสถานการณ์ของเศรษฐกิจที่หดตัวลงและจะมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จึงควรรักษาสภาพคล่องทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วย
  • แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *