เปิดรายละเอียดการจัดลำดับการฉีดวัคซีนโควิด

เปิดรายละเอียด การลำดับลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19

กรุงเทพตั้งโต๊ะแถลงข้อสงสัย เกี่ยวกับปมการฉีดวัคซีนโควิด 19 ถึงสาเหตุในรการจัดสรรจำนวนการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากการจัดสรรจำนวนจำกัด ต้องจัดลำดับในการฉีดตามความจำเป็น โดยเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงก่อน ต่อด้วยกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคร้าย พร้อมย้ำไม่เปิดรับกลุ่มวอล์อินประชาชนทั่วไป

จากกการอัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะหลังจากที่บอร์ดวัคซีนได้มีมติไฟเขียนให้กลุ่มประชาชนทั่วไป สามารถวอล์ออินเข้ามาได้ ถึงแม้จะมีการดีเดย์ออกมาในเดือนมิถุนายน 2564 กลับพบกว่า ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่สับสนว่า สามารถไปฉีดได้หรือไม่ ต้องลงทะเบียนก่อนรึเปล่า แล้วจะสามารถารถทราบได้อย่างไร ว่าวอล์คอินเข้าไปแล้วจะฉีดได้

อัพเดทล่าสุด ทางด้านรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกรทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเปิดเผย ว่าหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป วัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้า จะถูกส่งมอบตามสัญญา ตามสัญญาที่ทำไว้กับประเทศไทย ในทุกๆเดือนจนครบ 61 ล้านโดส หมายความว่า ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนในจำนวนที่มากขึ้น รัฐบาลเลยมีแนวคิดที่จะให้ประชาชน สามารถวอล์คอินเข้าไปฉีดวัคซีนได้ เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ ในขณะเดียวกันกรมควบคุมโรค จะไปหาวิธีในการแจ้งให้ประชาชนทราบ ว่าแต่ละหน่วยงานจะมีโควต้าให้ประชาชนวอล์อินเข้ามาฉีดได้เท่าไหร่

ในส่วนของการจัดระบบการฉีดวัคซีนในส่วนของกรุงเทพฯ นั้นทางด้านโฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาเปิดเผยถึงแนวทางในการฉีดวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพฯว่ากทม. ได้รับจัดสรรในช่วงปริมาณจำกัด จึงได้มีการจัดลำดับในการฉีดวัคซีนโควิด 19 เริ่มจากผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น บุคลากรด่านหน้าที่มีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโณค และ กลุ่มอาชีพเสี่ยง จากนั้นจะเป็นการให้วัคซีนในระยะต่อไปสำหรับกลุ่มผู้ป่วย 7 กลุ่ม และผู้สูงอายุ ได้ลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆยกตัวอย่างเช่น หมอพร้อม หรือ ลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาล ถึงจะให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป

สรุปลำดับก่อน-หลัง การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงบุคลากรด่านหน้า และการฉีดวัคซีนเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่ระบาด
  • กลุ่มผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค และผู้สูงอายุ ที่ได้ลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น หมอพร้อม หรือลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาล
  • ประชาชนทั่วไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ, รถประจำทาง, แท็กซี่, วินมอเตอร์ไซต์, ผู้มีอาชีพดูแลผู้สูงอายุ และ เจ้าหน้าที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กเป็นต้น

ตอนนี้ยังไม่มีการเปิดรับประชาชนทั่วไปที่ Walk-in เข้ามาที่จุดบริการฉีดวัคซีน โดยทั้งหมด กรุงเทพประสานนำรายชื่อจากองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อที่จะเข้ารับการฉีดในจุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลทั้ง 14 จุด ที่ดำเนินการร่วมกับหอการค้าไทย โดยขึ้นอยู่กับปริมาณวัคซีนที่ได้รับจัดสรร หากมีปริมาณมากจะสามารถให้บริการวัคซีนกับกลุ่มอาชีพต่างๆได้มากและเร็วมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของการฉีดวัคซีนให้กับชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย ทางสำนักอนามัยได้ยึดแนวทางในการให้วัคซีนของรัฐบาลที่กำหนดให้วัคซีนกับทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยที่ผ่านมาได้มีการฉีดวัคซีนให้กับแรงงานต่างชาติที่ทำงานในจังหวัดสมุทรสาครมาแล้ว และในส่วนของกรุงเทพจะมีการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด แล้วหลังจากนั้นจะเปิดให้กับกลุ่มชาวต่างชาติต่างต่อไป