รายละเอียดลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ และ เบี้ยคนพิการ

เปิดขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อสมัครรับเบี้ยผู้สูงอายุ และ เบี้ยผู้พิการ

เปิดเผยข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปัจจุบันประเทศไทยมีตัวเลขผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปคิดเป็นจำนวน 11 ล้าน 6 แสนกว่าราย คิดเป็น 17.57% ของประชากรทั้งหมดของประเทศไทยที่มีตัวเลขอยู่ที่ 66 ล้านกว่าคน ในปี 2564 ภาระทางงบประมาณการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องทำการจ่ายให้ปีละ 8.2 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้สูงอายุที่มีจำนวนประมาณ 12 ล้านราย

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุในปี 2546 เป็นกฎหมายคุ้มครองการส่งเสริมและสนันสนุนผู้สูงอายุ ให้ได้รับสิทธิในด้านต่างๆ รวมไปถึงการก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อองค์กรผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วๆไป ยกตัวอย่างเช่น เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นต้น

ในส่วนของหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะเปิดให้ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทุกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายนของทุกปีในวันและเวลาราชการ

คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 59 ปีขึ้นไป
  • ขอรับเบี้ยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. เช่นผู้ที่ได้รับบำนาญ, เบี้ยหวัด, บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือ เทศบาล อบต. จัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิกาและผู้ป่วยเอดส์

ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ และ เบี้ยผู้พิการ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ 1 ชุด

ยื่นเอกสารแล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่?

  • ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน ของทุกปีจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีถัดไป ไม่มีการจ่ายเงินย้อนหลัง

ผู้สูงอายุแต่ละคนจะได้รับเงินเท่าไหร่

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาท
  • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท
  • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไปจะได้รับ 1,000 บาท

กรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต. ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณ คือเดือนกันยายน หากมีความประสงค์รับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ต้องไปจดทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1-30พ พฤศจิกายน ของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคมของปีถัดไป

เบี้ยยังชีพผู้พิการ 

สำหรับเบี้ยยังชีพผู้พิการ จะได้รับ 800 บาท ต่อคนต่อเดือนเป็น 1,000 บาท ต่อคนต่อเดือน สำหรับกลุ่มคนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการ โดยไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ อายุ 18 ปี ขึ้นไป คนพิการทุกคนที่มีสมุด หรือ บัตรประจำตัวคนพิการ มีสิทธิลงทะเบียนขอรับ เบี้ยความพิการได้

การจนทะเบียนคนพิการ

คนพิการที่ประสงค์จดทะเบียนคนพิการ เพื่อนำสมุดประจำตัวคนพิการ ไปขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ตามรายละเอียดด้านล่าง

สถานที่จดทะเบียน

  • สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
  • สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัดซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือ จังหวัดคนพิการที่อาศัยอยู่

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน

  • เอกสารรับรองความพิการ
  • ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่นสถานีอนามัย, โรงพยาบาลประจำอำเภอ, โรงพยาบาลประจำจังหวัด และ โรงพยาบาลจิตเวช
  • ต้นฉบับ และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวต่างด้าว หรือ เอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวให้ใช้ใบสูติบัตรแทน

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *