พระราชบัญญัติ ชุมนุมในที่สาธารณะ 2558

พ.ร.บ. ชุมนุม นักเรียนมีสิทธิเสรีภาพ สามารถชุมนุมในโรงเรียนได้ ไม่ผิดกฎหมาย

ประกาศพระราชบัญญัติ การชุมนุมในที่สาธารณะ ประจำปี พุทธศักราช 2558 เผยว่าพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับการชุมนุมสาธารณะ นักเรียนสามารถชุมนุมได้ในโรงเรียน โดนไม่ผิดกฎหมาย

การแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ของนักเรียน จากหลายๆโรงเรียนทั่วประเทศไทยเมื่อวานนี้ มีประเด็นหลายๆอย่างเช่น สิทธิในการแสดงออกทางการเมืองผ่านการชู 3 นิ้วร้องเพลงชาติ หรือ จะเป็นการผูกโบว์สีขาว ซึ่งประเด็นดังกล่าวร้อนแรงมากๆบนโลกออนไลน์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถูกคุณครูบางท่านต่อว่า และ บางราย ถึงขั้นโดยทำร้ายร่างกาย และ ดุด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย จากเหตุผลที่ไม่พอใจลูกศิษย์ที่ได้แสดงจุดยืน จากเหตุการณ์ต่างๆนำมาซึ่งการติดแฮชแท็กบนโลกออนไลน์ #โรงเรียนหน้าเขาไม่เอาเผด็จการ แฮชแท็กนี้พุ่งขึ้นอันดับ 1 บนเทรน Twitter ของประเทศไทย ตลอดทั้งวัน

จากการตรวจสอบราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 63 ก หน้าที่ 19 ลงวันที่ 14 กรกฏาคม 2558 เป็นพระราชบัญญัติ การชุมนุมสาธารณะปี พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า “โดยที่เป็นการสมควร มีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ จำทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคะแนะนำ และ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้”

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ พ.ศ. 2558”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การชุมนุมสาธารณะ ดังต่อไปนี้

  • การชุมนุมเนื่องในงานพระราชพิธี และ งานรัฐพิธี
  • การชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือ กิจกรรมตามประเพณี หรือ ตามวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
  • การชุมนุมเพื่อจัดแสดงมหรสพ กีฬา, ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือ กิจกรรมอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าปกติของผู้จัดการชุมนุมนั้น
  • การชุมนุมภายในสถานศึกษา
  • การชุมนุม หรือ การประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือ ประชุมสัมนาทางวิชาการ ของสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ทางวิชาการ
  • การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และ การชุมนุมสาธารณะที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง ในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง แต่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

มาตรา 4 ใน พระราชบัญญัติ

ในประราชบัญญัตินี้ การชุมนุมสาธารณะ หมายความว่าการชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุนคัดค้าน หรือ แสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และ บุคคลอื่น สามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวน หรือ เคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่ ที่สาธารณะ  หมายความว่า ที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นเจ้าของแต่เป็นผู้ครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้รวมตลอดทั้งทางหลวง และ ทางสาธารณะ ผู้จัดชุมนุม หมายความว่า ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ และ ให้ความหมายรวมถึงผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ และ ผู้ซึ่งเชิญชวนหรือ นัดให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออก หรือ มีพฤติการณืทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัด หรือ ร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น ผู้ชุมนุม หมายความรวมถึง ผู้จัดการชุมนุม และ ผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะนั้นตามคำเชิญชวน หรือ การนัดของผู้จัดชุมนุม หรือ ไม่ หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ, องค์การของรัฐบาล, องค์การมหาชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรตามรัฐะรรมนูญ, และ หน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้รับแจ้ง หมายความว่า หัวหน้าสถานีตำรวจ แห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ หรือ บุคคลอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับแจ้งการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *