ข้อกำหนด พระราชกำหนดฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง

รายละเอียด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่มีความรายร้าย หลังสลายการชุมนุม

ประกาศครั้งล่าสุดจากทางรัฐบาล เกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง หลังสลายการชุมนุม การประกาศครั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ห้ามให้มีการมั่วสุมเกิน 5 คน รวมไปถึงห้ามไปอยู่ในอาคาร หรือเส้นทางต่างๆตามที่ประกาศห้ามเอาไว้

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ โดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายร้ายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีการออกมาระบุว่า ตามที่ปรากฎว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน, ปลุกระดม และ ดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย และเกิความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน บวกกับมีการกระทำที่มีผลกระทบต่อขบวนเสร็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อถือได้ ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง และกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาล, ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของรัฐ รวมไปถึงบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบ ที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งยังกระทบโดยตรงต่อการใช้มาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่งคงของประเทศ และเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในภาวะเปราะบางอยู่ในขณะนี้

จากกรณีดังกล่าว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้มีการยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย อาศัยตามอำนาจตามความมาตรา 5 และ 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร

ประกาศพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่มีความรายร้าย มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 04.00 น. เป็นต้นไป

สำหรับรายละเอียดของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยความในมาตรา 9 และ มาตรา 11 วรรค 2 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยออกข้อกำหนดตามรายละเอียดด้านล่าง

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุม หรือมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือกระทำการยุยง ไม่ให้เกิดความสงบเรียบร้อย
  2. ห้ามเสนอข่าว, จำหน่าย, หรือ ทำให้แพร่หลาย ซึ่งหนังสือพิมพ์, สิ่งพิมพ์ หรือ สื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว เจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดใน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
  3. ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ หรือให้ใช้เส้นทาง คมนาคมหรือยานพาหนะ โดยมีเงื่อนไขตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
  4. ห้ามใช้, เข้าไป หรืออยู่ในอาคาร รวมไปถึงสถานที่ดๆ และ ให้ออกจากอาคารหรือสถานที่ใดๆทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
  5. การดำเนินการตามข้อ 1-4 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะทำการกำหนด เงื่อนไขรวมไปถึงระยะเวลา ในการปฎิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไข ในการปฎิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามเห็นสมควร เพื่อไม่ให้มีการปฎิบัติที่ก่อให้กิดความเดือดร้อนแก้ประชาชนเกินสมควรกว่าเหตุ

ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2563 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *