เทรนด์ความงาม กับการเปลี่ยนแปลงยุคโควิด-19

เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคโควิด-19 ต่อกลุ่มสินค้าประเภท Beauty เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

วิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อเทรนด์ความงาม และสินค้ากลุ่ม Beauty ซึ่งมีปัจจัยจากการลดการเดินทางของผู้บริโภค ทำให้พบปะผู้คนน้อยลง และเกิดเป็นเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคโควิด-19 ต่อกลุ่มสินค้าประเภท Beauty ที่เปลี่ยนแปลงไป

 

เทรนด์ความงาม กับการเปลี่ยนแปลงยุคโควิด-19

4 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค

1. แต่งหน้าน้อยลง และใส่ใจกับกลุ่มสกินแคร์มากขึ้น

ซึ่งเกิดจากการที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น และต้องใส่หน้ากากอนามันตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน ทำให้ความจำเป็นในการแต่งหน้าลดน้อยลง ทำให้กลุ่มสินค้าสกินแคร์กลายเป็นสินค้ายอดนิยม เกิดจากความต้องการที่จะมีผิวที่เปลางปลั่ง โดยไม่ต้องแต่งหน้า และความกังวลเรื่องความแก่และริ้วรอย ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าการใช้สกินแคร์เป็นการผ่อนคลาย

สินค้ากลุ่มสกินแคร์ เช่น ครีมล้างหน้า มอยเจอร์ไรเซอร์ เซรั่มและผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว จัดเป็นสินค้าขายดี

สินค้าที่ป้องกันสิวจากหน้ากาก ก็เป็นอีกสินค้าที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจ เพราะการใส่หน้ากากเป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุของการเกิดสิว ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามยังแนะนำให้ผู้มีปัญหาสิวจากการสวมหน้ากากอนามัย หันมาทำความสะอาดผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน และใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวเป็นประจำ

ผลิตภัณฑ์แต่งหน้าที่เป็นมิตรต่อหน้ากากอนามัย ผู้ที่ชื่นชอบการแต่งหน้าจึงจำเป็นต้องเลือกใช้เมคอัพแบบติดทน ไม่เลอะติดหน้ากากอนามัย และเมื่อสวมหน้ากากอนามัย ส่วนใบหน้าตั้งแต่จมูกลงมาถูกปิด ทำให้ส่วนของดวงตา ขนตา คิ้ว ยังได้ถูกอวดโฉมอยู่ ผลิตภัณฑ์อย่างอายแชร์โดว์ ดินสอเขียนคิ้ว มาสคาร่า หรือขนตาปลอม จึงเป็นสิ่งที่ยังคงขาดไม่ได้

และการใช้เครื่องสำอางแบบกันน้ำก็ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเมคอัพจะไม่เลอะติดหน้ากากอนามัย และสาว ๆ ยังนิยมเลือกใช้ลิปสติกเนื้อแมท ที่ไม่เลอะติดหน้ากากอนามัยอีกด้วย

เทรนด์ความงามยุคหลังโควิด-19 สาวไทยแต่งหน้าน้อยลง แต่ใช้น้ำหอมพุ่ง

2. กลุ่มสินค้าประเภทน้ำหอมเติบโตสวนทางตลาด ขัดกับความเข้าใจด้านพฤติกรรมโดยทั่วไป ที่มองว่าน้ำหอม ต้องใช้เวลาที่ออกจากบ้าน และพบปะผู้คนนั้น แต่ในยุคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียด น้ำหอมได้กลายเป็น Affordable Luxury ที่ช่วยบำบัดจิตใจในช่วงสภาวะนี้นั่นเอง

 

3. ยอดใช้จ่ายต่อกลุ่ม Prestige Beauty เพิ่มขึ้น จากการที่ไม่สามารถเดินทางข้ามประเทศได้ ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น

 

4. การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด พฤติกรรมการซื้อสินค้ากลุ่ม Beauty พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้จ่ายในช่องทางออนไลน์ ยังคงซื้อผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยซื้อจากทางหน้าร้าน และจะเป็นพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและยั่งยืน (Sustainable Growth)

 

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างธุรกิจ E-Commerce และอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ทำให้เกิดกลยุทธ์แบบ Omni-Channel ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ทุกช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์

อีกทั้งการเปิดร้านค้าออนไลน์ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการมีหน้าร้าน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลให้ร้านค้าสินค้าความงามปรับรูปแบบแพลตฟอร์มให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น

และการใช้เทคโนโลยี AR, VR และอื่น ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้ทดลองแต่งหน้าเสมือนจริง และสนุกไปกับการทดลองเลือกเฉดสีที่ชอบ เพียงแค่อัพโหลดรูปถ่ายตัวเองลงบนสมาร์ทโฟน การได้ทดลองสินค้าในหลายเฉดสี หลายรูปแบบ ช่วยตัดปัญหาและประหยัดเวลา ที่ลูกค้าจะต้องไปลองใช้สินค้าจริงที่หน้าร้าน

 

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *