รายละเอียดเงินเยียวยาล็อกดาวน์ 3 หมื่นล้าน
จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ได้ลงมติเห็นชอบทุ่มเงินเยียวยา ประชาชนและผู้ประกอบการ 10 จังหวัด จากมาตรการล็อกดาวน์ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, ปทุมธานี, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และ สงขลา รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบอนุมัติวงเงิน 42,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามรายการด้านล่าง
- มาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบสำหรับลูกจ้าง และ กิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม วงเงิน 30,000 ล้านบาท
- มาตรการลดค่าครองชีพ โดยลดค่าน้ำค่าไฟ 2 เดือน ผ่านวงเงิน 12,000 ล้านบาท
จากการเปิดเผยข้อมูลของเลขาธิการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ได้ออกมาแจ้งว่า วงเงินที่จะใช้ในส่วนนี้ จะใช้กรอบวงเงินจาก พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังทำการกู้เงิน เพื่อนำไปเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม ที่มีวงเงิน 5 แสนล้านบาท โดยได้รวมวงเงินของประกันสังคมไว้หากเข้าตามเงื่อนไขของประกันสังคม ก็จะสามารถใช้เงินจากระบบประกันสังคมได้
เงินช่วยเหลือพิเศษให้กับทางแรงงาน และ นายจ้างที่ไม่อยู่ในระบประกันสังคม จะทำการจ่ายเงินจากเงินกู้จะใช้จ่ายตามจิรงโดยไม่เต็มเพนดาน ซึ่งขอไว้ที่ 3 หมื่นล้านบาท มาตรการดังกล่าวได้รวบรวมวงเงินในครั้งก่อนที่เสนอขอกับทางคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมีการเพิ่มวงเงินในบางรายการ และเพิ่มกลุ่มอาชีพที่รับความช่วยเหลือตามประเภทกิจการจากเดิมเยียวยา 4 กลุ่มกิจการเพิ่มอีก 5 กลุ่มกิจการ รวมเป็นกิจการที่ได้รับการเยียวยาทั้งหมด 9 หมวดด้วยกันตามรายการด้านล่าง
- สาขาข้อมูลข่าวสาร และ การศึกษา
- สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และ กิจกรรมวิชาการ
- สาขากิจกรรมการบริหาร และ บริการสนับสนุน
- สาขาขนส่ง และ สถานที่เก็บสินค้า
- สาขาการขายส่ง และ การขายปลีก การซ่อมยานยนต์
- ก่อสร้าง
- กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
- ศิลปะบันเทิงและนันทนาการ
- ที่พักแรม และ บริการด้านอาหาร
การเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้มีการเพิ่มกิจการของถุงเงิน โดยเพิ่มเติมจากร้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยให้รวมร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป, ร้านค้าบริการ, กิจการขนส่งสาธารณะไม่รวมกิจการขนาดใหญ่ ให้มาตรการดังกล่าวออกมาเป็นการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน และอาจมีแนวโน้มขยายตามสถานการณ์ในปัจจุบัน
รายละเอียดการเยียวยา แรงงานในระบบประกันสังคม และ นอกระบบประกันสังคม
- กลุ่มแรงงานตาม ม.33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะช่วยจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และ จ่ายเงินสมทบให้กับลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้รับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ให้ความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน
- ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย และยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ในส่วนของผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 เป็นบุคคลสัญชาติไทย ที่ยังประกอบอาชีพในปัจจุบัน ให้ทำการเตรียมหลักฐานเพื่อขอลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.40 กับทางสำนักงานประกันสังคมภายในเดือน กรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 เดือน