อาการโควิด-19 ระยะแรก ผลเป็นลบ ไม่ได้แปลว่าไม่ติด

ผลตรวจ COVID-19 ได้ผลลบ ไม่ได้แปลว่า “ไม่ติดเชื้อ”

สถานการณ์คนไทย ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นทุกวัน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมเพิ่ม สูงมากที่สุด ด้วยจำนวน 60 คน ซึ่งคนที่ติดเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับ สนามมวย และ ผับที่ทองหล่อ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ติดเชื้อเพิ่มเติม ผู้ติดเชื้อ 60 ราย ยังเป็นผู้ป่วย เป็นผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับทางสนามมวย 12 ราย ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากสนามมวยรวมทั้งหมด 52 คน ในขณะที่มีผู้ป่วย ติดเชื้อจากผับย่านทองหล่อ เพิ่มเติมอีก 14 คน ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อ ทำงานภายในผับทุกราย ยกตัวอย่างเช่น คนเก็บเงิน, พ่อครัว, ดีเจ, คนที่เดินทางมาเที่ยว ฯลฯ ยอดรวมทั้งหมด 52 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งเป็นบุคคลที่เดินทางมาจากต่างประเทศเสี่ยง เช่น อิตาลี, อังกฤษ, อินเดีย, มาเลเซีย, กัมพูชา, เยอรมนี, อิหร่าน และ ญี่ปุ่น ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 17 คน ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวม 272 คน

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนที่จะเดินทางไปตรวจคัดกรอง COVID-19

จากการที่มีประชาชนคนไทย หลายๆคน มีความกังวล เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายๆคน มีความต้องการจะเดินทางไปตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสดังกล่าว ซึ่งมีประชาชนหลายๆคน ที่เดินทางไปตรวจ แล้วได้ผลจากแล็บออกมาเป็น “ลบ” การที่ผลออกมาเป็นลบ นั้นไม่ได้แปลว่า “ไม่ได้ติดเชื้อ” เนื่องจากการไปตรวจนั้น อาจจะเป็นช่วงที่มันไม่ได้แสดงอาการ หรือว่าไปตรวจ “ผิดเวลา” ทำให้ผลแล็บแสดงออกมาว่าเป็นลบ นั่นเอง เนื่องจากตรวจไม่เจอเชื้อ การตรวจคัดกรองโควิด-19 ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

2 วิธีตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19

  1. การตรวจหาเชื้อในระบบทางเดินทางใจ (Real Time RT PCR) เป็นการตรวจด้วยการ เก็บเยื่อบุในคอ หรือ การป้ายเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เพราะว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น จะอยู่ในเซลล์ที่ถูกขูดออกมา และ ถ้าหากเชื้อลงไปในปอดเป็นที่เรียบร้อย ก็ต้องนำเสมหุ ที่อยู่ในปอดออกมาตรวจ สำหรับวิธีการตรวจเชื้อจากปอด ก็ต้องตรวจด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากสิ่งปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อมของสถานที่ตรวจนั้นๆ ทำให้ต้องทำให้ห้องแล็บ ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น สำหรับการตรวจในห้องแล็บนั้น จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ถึง 3 ชั่วโมง สำหรับต้นทุน ในการตรวจในห้องแล็บแต่ละครั้ง จะอยู่ที่ 2,500 บาท
  2. การตรวจด้วยการเจาะเลือด (Rapid Test) การใช้เลือดเพื่อเอาไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้น ไม่ได้เป็นการหาเชื้อโควิด แต่เป็นการตรวจเพื่อหาภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย การตรวจชนิดนี้จะใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที ในปัจจุบัน การนำเข้าชุดตรวจ COVID-19 จะมีราคาอยู่ที่ 500 บาท แต่ตอนนี้ประเทศไทยได้พัฒนา ชุดตรวจโควิด-19 โดย VISTEC-ศิริราช-ปตท.-ไทยพาณิชย์ และ เครือข่าย แต่ยังอยู่ในช่วงผลิต และ จะมีการเริ่มวางจำหน่ายให้ประชาชนได้ใช้งานในเดือน เมษายน 20204

ประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง COVID-19 จากแล็บ

สำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส COVID-19 จากทางแล็บ หลักๆเลยก็คือ การวินิฉัย ว่าคนๆนั้นติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วโลก คือการตรวจหาเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ ถ้าผลแสดงว่าเจอเชื้อ ก็แสดงว่าติด COVID-19 สิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือ การให้การรักษา ในปัจจุบันจะใช้ยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) อีกหนึ่งปัจจัยจากการตรวจคัดกรองโควิด-19 จากแล็บนั่นก็คือ เฝ้าระวัง เพื่อควบคุมโรค ในกรณีพบผู้ที่มีเชื้อ ก็ต้องเฝ้าระวังป้องกัน เพื่อไม่ให้ไปแพร่เชื้อให้คนอื่น ด้วยการกักตัว

การตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการตรวจจากแล็บ ในระยะฟักตัวของโรคนี้ จะยังไม่แสดงอาการใดๆออกมา และ ผลตรวจที่ออกจากแล็บผลที่ได้ก็จะเป็น “ลบ” เพราะว่าตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ไม่ได้แปลว่า ผู้ที่ตรวจไม่ได้ติดเชื้อ ซึ่งต้องดูต่อไปว่า ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่เกินระยะฟักตัวของโรค นั่นก็คือ 14 วัน จะมีอาการป่วยหรือไม่ หากป่วยก็ต้องไปตรวจที่แล็บใหม่อีกครั้ง ไม่ได้หมายความว่า “ไม่ติดเชื้อโควิด-19” ต้องเช็คตัวเองต่อไปอีกว่า ในช่วงเวล่ที่ยังไม่เกินระยะฟักตัวของโรคโควิด-19 นั้น มีอาการป่วยหรือเปล่า ถ้าเกิดว่าป่วย มีไข้ขึ้นมา ก็ต้องไปตรวจที่แล็บใหม่อีกครั้ง ซึ่งการที่จะได้ผลจากแล็บที่ตรงจริงๆ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ไปตรวจด้วย ตรวจเร็วเกินไปก็อาจจะไม่เจอเชื้อ ต้องไปตรวจแล็บในช่วงที่มีอาการ