ไขข้อข้องใจ ลูกจ้างถูกสั่งงานวันหยุด หรือหลังเลิกงาน ต้องทำรึเปล่า
เปิดข้อสงสัยสำหรับพนักงานบริษัท ที่ถูกนายจ้าง หรือผู้ว่าจ้างสั่งงานในช่วงวันหยุด หรือนอกเวลางาน ถ้าลูกจ้างไม่ตอบ หรือไม่ทำงาน ถือว่าไม่มีความผิด ไม่สามารถนำไปประเมินผลการทำงานได้ หากถูกใช้งานลูกจ้างจะต้องได้ค่า Overtime (OT)
อีกหนึ่งเรื่องที่ลูกจ้างอาจจะเคยสงสัย และ ไม่เคยสงสัยมาก่อนเลย ซึ่งหัวข้อนี้อาจจะทำให้ลูกจ้างหลายๆคนรู้สึกไม่สบายใจ ในกรณีที่ถูกนายจ้างสั่งงานในวันหยุด ลูกจ้างบางคนต้องทำงานวันหยุดเช่น ต้องมาตอบไลน์ หรือตอบงานลูกค้า ทั้งๆที่ไม่ใช้เวลาทำงาน แต่มีความจำเป็นต้องทำ เนื่องจากกลัวว่าจะถูกหัวหน้า หรือนายจ้างมองว่าขัดคำสั่ง และ อาจจะส่งผลต่อหน้าที่การงานในอนาคต จากการตรวจสอบจากทางสำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการสั่งงานนอกเวลางาน ลูกจ้างสามารถปฎิเสธไม่ตอบได้ ไม่ถือว่าเป็นความผิด และไม่ถือว่าขัดคำสั่งนายจ้าง รวมถึงนายจ้างไม่สามารถ ใช้เหตุผลต่างๆไปใช้ในการประเมินผลงานของลูกจ้างได้ และการสั่งงานนอกเวลา หรือ การทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าโอที อย่างไรก็ตาม การสอบถามเรื่องงาน ไม่ใช่การสั่งงาน ทั้งนี้ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย
การอ้างถึงกฎหมายแรงงาน ให้ความเห็นทางกฎหมาย เมื่อทำการพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 23 โดยกำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำกงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง การทำงานนอกเหนือ หรือ เกินจากเวลาที่ทำงานปกติ 8 ชั่วโมง โดยทั่วไปแล้วจะเรียกกว่า การทำงานล่วงเวลา และ ถ้าการทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องจ่าย “ค่าล่วงเวลา” การคำนวณค่าล่วงเวลา วันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า และ ถ้าต้องทำล่วงเวลาวันหยุดจ่าย 3 เท่า
ปัญหาการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ไลน์, ข้อความเฟซบุ๊ก, E-mail ฯลฯ นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่
การสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงเวลาทำงานปกติ เช่น การสั่งงาน สามารถทำได้เพราะนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้าง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว นายจ้างได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนวนรูปของค่าจ้างอยู่แล้ว
การสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกเวลาทำงานปกติ หรือ สั่งในช่วงวันหยุด ผลจากคำสั่งนั้น ทำให้ลูกจ้างจะต้อง “ทำงาน” ให้กับนายจ้างยกตัวอย่างเช่น นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างคำนวณต้นทุน รวมไปถึงการทำเอกสาร หรือค้นคว้าหาข้อมูล จะเห็นได้ว่าผลจากคำสั่ง ทำให้ลูกจ้างจะต้องทำ และ เป็นการทำงานนอกเหลือเวลางานที่ทำตามปกติ หรือ ทำงานในวันหยุด ซึ่งลูกจ้างสามารถเลือกได้ตามลิสด้านล่าง
- ลูกจ้างสามารถปฎิเสทที่จะทำได้ เพราะว่าในมาตรา 24 ได้มีการกำหนดเอาไว้ ว่าการทำงานล่วงเวลา จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย
- หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่สามารถเอาเหตุผลดังกล่าวไปใช้ในการประเมินผลงานได้ เพราะว่าสิทธิที่จะปฎิเสทการทำงานล่วงเวลา เป็นสิ่งที่กฎหมายบัญญัติรองรับให้สิทธิเอาไว้อยู่แล้ว
ถ้ามีการสื่อสารผ่านสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เป็นการทำงาน แต่เป็นการสอบถามเรื่องทั่วไป หรือ สื่อสารทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น สอบถามรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ สอบถามรหัสผ่าน email ฯลฯ ถือว่าไม่เป็นการทำงาน นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุด