ครม. ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90%
- ก่อนหน้านี้ ได้มีการพูดคุยกันไปแล้วเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (อ่านเพิ่มเติม: สรุปครบ ‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’ ที่ทุกคนต้องรู้) เมื่อมีข่าวล่าสุดออกมาเกี่ยวกับการปรับลดภาษี จึงมาสรุปให้ได้อ่านกันอีกครั้งว่าภาษีที่ดินลดให้กับกลุ่มที่ดินแบบไหนกันบ้าง?
- เมื่อไม่นานมานี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีการหารือเพื่อมีการปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทลง 90% เฉพาะปี 2563 ทั้งที่ดินเพื่อการเกษตร, ที่อยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม และที่รกร้างว่างเปล่า เพื่อเยียวยาและช่วยเหลือเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
- ซึ่งเบื้องต้นจะมี D-DAY ในวันที่ 1 ส.ค. 2563 ซึ่งจะเริ่มทยอยจัดส่งใบประเมินภาษีที่คำนวณแบบใหม่ให้กับผู้เสียภาษี ภายในเดือนมิถุนายน
- การปรับลดภาษีครั้งนี้ ทำให้การจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศลดลงราว 36,000 ล้านบาท เท่ากับว่าปีนี้จะจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้เพียง 3,000 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดภาษีเพื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นหลัก
การปรับลดภาษี
- กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
- ผู้ประกอบการ: ที่ดินว่างเปล่า เสียภาษีปีแรกในอัตรา 0.3% ได้ลดหย่อน 90%*
* ปัจจุบันได้รับส่วนลด 90% ในช่วง 3 ปีแรกอยู่แล้ว แต่ได้ประโยชน์ในส่วนของที่ดินเปล่าที่เป็น ‘แลนด์แบงก์‘ ** โดยจะถูกเก็บภาษี 0.3% และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี จะได้รับการลดหย่อน 90%
- ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์: บ้านหลังที่สอง เสียภาษีในอัตรา 0.02% ได้ลดหย่อน 90%*
* สำหรับบ้านหลักแรก ราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว แต่ในส่วนบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป จะถูกเก็บภาษีตามขั้นบันได แต่อย่างไรก็ตามอัตราภาษีเดิมที่ต้องจ่ายก็ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว คนอาจจะไม่นิยมซื้อเพิ่มเพื่อภาษีที่ลดลงนี้
- ผู้ประกอบการ: ที่ดินว่างเปล่า เสียภาษีปีแรกในอัตรา 0.3% ได้ลดหย่อน 90%*
- กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
- ผู้ประกอบการ: ที่ดินว่างเปล่า เสียภาษีปีแรกในอัตรา 0.3% ได้ลดหย่อน 90%
**หมายเหตุ
- แลนด์แบงก์ (Land bank) หมายถึง การซื้อที่ดินสะสมเอาไว้
- อย่างไรก็ตาม การปรับลดภาษีในปีนี้ยังคงเป็นเรื่องชั่วคราว อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง แต่สรุปแล้วว่า 2 ประเภทที่ดินที่ได้รับผลประโยชน์ในการปรับลดภาษีครั้งนี้คือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และนิคมอุตสาหกรรม