คลังแจงข่าวรัฐบาลถังแตก กู้เงิน 2.14 แสนล้านบาท

รัฐบาล ‘ถังแตก’ คลังแจงเหตุผลในการกู้เงิน

ได้มีข้อมูลที่ถูกเปิดเผยโดย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลของคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมล่าสุดได้ลงมติเห็นชอบการคลัง ในการกู้เงินปีงบประมาณ 2563 อีกจำนวน 2.14 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ในกรณีที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ มีการคาดว่ารายได้ปีนี้ จะเก็บได้ต่ำกว่า 9% ของเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ หรือ คิดเป็นตัวเลขประมาณ 3 แสนล้านบาท ในปัจจุบันเงินคงคลังอาจจะมีไม่พอในการใช้จ่ายเงินของประเทศ เนื่องจากเงินคลังเหลือน้อย ทำให้จำเป็นจะต้องเปิดวงเงินกู้ดังกล่าวโดยทาง สบน. จะประเดิมกู้เงินส่วนแรกจำนวน 5 หมื่นล้านบาท โดยผ่านการออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนทั่วไปในเดือนนี้

วงเงินกู้ 2.14 แสนล้านบาท เป็นคนละส่วนกับการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 2563 จำนวร 4.69 แสนล้านบาท ซึ่งมีการกู้เต็มจำนวนไปแล้ว ตามกฎหมายคลังสามารถยื่นขอกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ 20% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย และ ยังสามารถบวกได้อีก 80% ของต้นเงินชำระเงินกู้ ในปี 2563 นี้สามารถทำการกูเได้ 6.38 แสนล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล และ การกู้กรณีรายจ่ายมากกว่ารายได้ จะอยู่ในกรอบของกฎหมายดังกล่าว

จากการตั้งคำถามว่า “รัฐบาลถังแตก” จริงรึเปล่าในมุมมองจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีหนี้สินเยอะมากๆ บวกกับระบบการเงินที่มันล้มเหลว ไม่สามารถหยิบยืมได้ หรือ ไม่สามมารถกูเงินการแหล่งเงินทุนอื่นๆได้ หรือ ถ้ากู้ได้ก็ต้องรับกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิบลิ้ว เนื่องจากคนขอกู้ไม่มีความน่าเชื่อถือ เลยถูกเรียกในอัตราดอกเบี้ยที่สูงนั่นเอง เพื่อเป็นหลักประกัน แต่หากมองดูรัฐบาลไทย ในปัจจุบันการกู้ยืนเงินของรัฐนั้น จะพบว่าการระดมเงินผ่านพันธบัตรรัฐบาลในรุ่นต่างๆ ยังได้รับความนิยมจากนักลงทุน และ ประชาชน ยกตัวอย่างพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.6% ต่อปี สะท้อนความเชื่อมั่นของประชาชนให้รัฐบาลกู้ยืมเงิน

หากมองในแง่ร้ายสุดๆของรัฐบาล ในสถานการณ์รายได้ของรัฐบาลอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงซึ่งเป็นผลกระทบหลักจากโควิด-19 อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อกระแสเงินสดของรัฐบาล ซึ่งรายได้ดังกล่าว ไม่ได้สะท้อนปัญหารัฐบาลถังแตก แต่อย่างใด ถ้าเราจะมองในฐานะการคลัง จะพบว่าระดับเงินของรัฐบาลในตอนนี้ อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร อยู่ที่ 4 แสนล้านบาท โดยเงินคงคลังถือเป็นวงเงินที่รัฐบาลมีเครดิตที่จะสามารถกูเได้ ขึ้นอยู่กับรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือน แม้ว่าระดับเงินคงคลังจะลดลง ก็ไม่ได้แปลว่าเครดิตของรัฐบาลลดลงตามไปด้วย ถือว่าเป็นการจัดการบริหารเงินสดในมือ แต่ถ้าเกิดมีอยู่ในระดับสูงก็จะถือว่าเป็นต้นทุนของรัฐเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่รัฐบาลไทย ต้องทำการขอกู้เงินเพิ่มเติมกรอบวงเงิน 2.14 แสนล้านบาทนั้น จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ประเทศ สิ้นปีงบประมาณ 2563 อยู่ในระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งยังไม่เกิน ร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของการทรวงการคลังกำหนด ทางด้านกระทรวงการคลังได้ออกมาคาดการว่า มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของรัฐบาลได้รับพิจารณาอนุมัติ แล้วจะเริ่มส่งผลต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2564 และ สามารถดูแลประชาชน พร้อมกับประคับประคองผู้ประกอบการให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *