มติ ครม. ฉบับสมบูรณ์ ปิดสถานที่เสี่ยงกรุงเทพฯ 14 วัน

ลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีความเสี่ยงสูง

ประกาศจากทางโฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการแถลงว่าที่ประชม ครม. วันนี้ มีมติเข้มข้น ป้องกัน โควิด-19 โดยจะปิดเฉพาะพื้นที่เสี่ยงบางส่วน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ไปจนถึง 31 มีนาคม 2563

ทางด้าน ครม. ได้มีด้านมาตรการป้องกัน เพื่อลดโอกาส ในการแพร่ระบาดของโรค ในสถานที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะให้มีการปิดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย สำหรับ สนามมวย, สนามกีฬา และ สนามม้า ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล สำหรับ ผับ, สถานที่บันเทิง, สถานบริการ, นวดแผนโบราณ และ โรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นเวลา 14 วัน ให้งดการจัดกิจกรรมรวมคน จำนวนมาก ที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการระบาด ยกตัวอย่างเช่น การจัดคอนเสิร์ต จัดงานแสดงสินค้าต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และ กีฬา โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และ คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดพิจารณา

  • ลดความแออัด ในการเดินทาง เพื่อที่จะลดโอกาส การแพร่ระบาดของโรค
  • เลื่อนวันหยุดสงกรานต์ 13-15 เมษายน 2563 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด
  • ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในระบบขนส่งสาธารณะในประเทศ
  • งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามจังหวัด ของหน่วยงานที่มีคนจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ค่ายทหาร, เรือนจำ, โรงเรียน, หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค รวมไปถึง การจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวด้วย
  • ให้ทุกหน่วยงานพิจารณา มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน และ ทำงานที่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ใช้ระบบ อินเตอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล โดยให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน ทำแผนการทำงานจากบ้านและ รายงานผลการปฎิบัติงานต่อศูนย์ COVID-19

มาตรการจากทางสาธารณสุข

  • ปิดการเข้า-ออกประเทศ แต่ไม่มีการปิดเมือง เพื่อป้องกัน และ สกัดการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้มีมาตรการโดยตรงกับชาวต่างชาติ ที่เดินทางจากประเทศที่เป็นพื้นที่ติดต่ออันตราย 4 ประเทศ +2 เขตการปกครองพิเศษ
  • ขาเข้าประเทศ ต้องมีใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 3 วัน
  • ต้องมีประกันสุขภาพ
  • ยินยอมใช้แอปพลิเคชั่นติดตามของรัฐ
  • มาตรการกักกันของรัฐ ถูกคุมไว้สงเกตอาการ 14 วัน
  • มาตรการนี้ใช้กับการเข้าเมืองทุกทาง ทั้งทางบก ทางน้ำ และ ทางอากาศ
  • ตม. ดูหนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ ว่าประเทศก่อนประเทศสุดท้ายคืออะไรบ้าง เป็นเขตติดต่อโรคหรือไม่ แล้วแจ้งกระทรวงมหาดไทย

มาตรการด้านเวชภัณฑ์ ป้องกัน เร่งผลิตในประเทศ และ จัดหาจากต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการ

  • เร่งผลิตหน้ากากอนามัย และ หน้ากากอนามัยผ้า เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการป้องกัน
  • นำหน้ากากอนามัยของกลาง ที่ยึดได้ที่ศูนย์ฯ ให้ทำการกระจายต่อไป
  • สำรวจความต้องการของเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ชุดป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์, หน้ากาก N95 และ อุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น
  • จัดการเพิ่มเติมให้เพียงพอ เช่น จะมีการตรวจสอบการขาย Online, การกักตุน และ การระบายของสินค้า