ข้อแตกต่างระหว่างพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
เมื่อไม่กี่วันก่อนได้มีการออกประกาศจากทางหน่วยงานรัฐว่าจะมีการออกพระราชกำหนดฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ วันนี้จึงสรุปความแตกต่างของพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินให้ได้ทราบกัน โดยจะมีการจำแนกตามข้อกำหนดของพรบ.หรือพรก.นั้นว่าข้อใดทำได้ทำไม่ได้ มาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
ข้อกำหนดของพรบ.และพรก. | พรบ.ความมั่นคง | พรก.ฉุกเฉิน |
เจ้าหน้าที่สามารถทำการปิดล้อม,ตรวจค้น,จับกุม | ไม่ได้ | ได้ |
มีการอนุญาตให้ชุมนุม | ได้ | ไม่ได้ |
ประชาชนสามารถทำการฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ | ได้ | ไม่ได้ |
เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมตัวโดยไม่มีหมายจับ | ไม่ได้ | ได้ |
เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบการสื่อสารทุกรูปแบบ | ไม่ได้ | ได้ |
การฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ | ได้ | ไม่ได้ |
การรายงานของรัฐสภา และเปิดให้รัฐสภาสอบถาม | ต้องทำ | ไม่ต้องทำ |
เจ้าหน้าที่สามารถออกคำสั่งเรียกตัวบุคคล และยึดหรืออายัติอาวุธ, สินค้า รวมถึง สามารถตรวจค้น-รื้อถอน-ทำลายสิ่งปลูกสร้าง | ไม่ได้ | ได้ |
ซึ่งล่าสุดวันนี้ (25 มีนาคม 2563)ทางรัฐบาลได้มีการประกาศ จึงสรุปสาระสำคัญของพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่นายกฯเตรียมประกาศบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 นี้ (มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563)
พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในกรณีเป็นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีรายละเอียดดังนี้
(1)ห้ามบุคคล ออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
(2)ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ
(3)ห้ามแพร่ข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด
(4)ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
(5)ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
(6)ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด