ผู้ประกันตนมาตรา 40 รับเงิน 5,000 ได้ไหม?

สิทธิ์การรับเงิน 5,000 เราไม่ทิ้งกันกับผู้ประกันตนมาตรา 40

มีหลากหลายคำถามเกี่ยวกับมาตรการจากรัฐที่ให้เงินแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 (อ่านเพิ่มเติม: เราไม่ทิ้งกัน วิธีลงทะเบียน รับเงิน 5,000 บาท) ว่าผู้ประกันมาตรา 40 สามารถรับเงิน 5,000 เป็นเวลา 3 เดือนตามมาตรการได้หรือไม่ และมีการออกประกาศแล้ว สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม จะได้รับสิทธิ์ในเงินเยียวยาด้วย กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 40 นี้ คือ กลุ่มอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้าแม่ค้า รับจ้าง วินมอเตอร์ไซค์ เกษตรกร

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แก่

  1. ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ แรงงานนอกระบบ
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  3. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชน ตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (กรณีเป็นบุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนมีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการที่จะรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)
  4. ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้น ตามกฎหมายประกันสังคม
  5. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

แต่ข้อกำหนดของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จะได้รับเงิน คือ

  • ต้องว่างงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงจะได้รับเงินจากกองทุนประกันสังคมในกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 15,000 บาท
  • กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานจะรับเงินในกรณีว่างงาน ไม่เกิน 6 เดือน
  • กรณีรัฐสั่งให้หยุดงาน จะได้รับเงิน ไม่เกิน 3 เดือน

ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถเลือกจ่ายเงินสมทบได้ทั้งหมด 3 แบบ (จากปกติ 2 แบบ)

  1. จ่ายสมทบประกันสังคม 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท ซึ่งรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี
    • เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย (นอนโรงพยาบาลได้ชดเชยวันละ 300 บาท  ไม่เกิน 30 วัน/แพทย์สั่งพัก 3 วันขึ้นไป ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/หยุดพักไม่เกิน 3 วัน ชดเชยครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี)
    • เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อทุพพลภาพ (ได้รับเงิน 500,1000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี ตามระยะเวลาจ่ายสมทบ)
    • เงินค่าทำศพ 20,000 บาท และเงินสงเคราะห์ 3,000 บาท (สำหรับผู้ที่จ่ายมาแล้ว 60 เดือน)

  2. จ่ายสมทบประกันสังคม 100 บาท บวกกับรัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี
    • เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย (นอนโรงพยาบาลได้ชดเชยวันละ 300 บาท  ไม่เกิน 30 วัน/แพทย์สั่งพัก 3 วันขึ้นไป ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/หยุดพักไม่เกิน 3 วัน ชดเชยครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี)
    • เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อทุพพลภาพ (ได้รับเงิน 500,1000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี ตามระยะเวลาจ่ายสมทบ)
    • เงินค่าทำศพ 20,000 บาท และเงินสงเคราะห์ 3,000 บาท (สำหรับผู้ที่จ่ายมาแล้ว 60 เดือน)
    • เงินบำเหน็จเมื่อชราภาพ (แต่ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 6 เดือน)

  3. ตัวเลือกการจ่ายให้แก่ให้แรงงานนอกระบบ ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็น 450 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ
    • เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย (นอนโรงพยาบาลได้ชดเชยวันละ 300 บาท  ไม่เกิน 90 วัน/แพทย์สั่งพัก 3 วันขึ้นไป ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 90 วัน/หยุดพักไม่เกิน 3 วัน ชดเชยครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี)
    • เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อทุพพลภาพ (ได้รับเงิน 500,1000 บาทต่อเดือน เป็นตลอดชีวิต ตามระยะเวลาจ่ายสมทบ)
    • เงินค่าทำศพ 40,000 บาท และเงินสงเคราะห์ 3,000 บาท (สำหรับผู้ที่จ่ายมาแล้ว 60 เดือน)
    • เงินบำเหน็จเมื่อชราภาพ (แต่ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 6 เดือน) ครบ 6 เดือนได้เงินก้อน 10,000
    • เงินสงเคราะห์บุตร รับเงินแก่บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน (ใช้สิทธิ์บุตรไม่เกิน 2 คนต่อเดือน)