วัคซีน ChulaCOV19 ประสิทธิภาพเทียบเท่า ไฟเซอร์
เปิดเผยข้อมูลจากทีมนักวิจัยคนไทย ที่ได้คิดค้นและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยใช้ชื่อว่า ChulaCOV19 เปิดเผยความก้าวหน้าล่าสุดผ่านการทดลองกับอาสาสมัครเบื้องต้น พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เท่ากับวัคซีน Pfizer แถมยังมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสข้ามสายพันธุ์ และ ผลข้างเคียงที่อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ได้ออกมาเปิดเผยข่าวดีเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีน ChulaCOV19 กับอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ หลังจากที่ได้มีการพัฒนา วิจัย วัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโรคต่างๆให้กับประชาชนคนไทยรวมถึงเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้มีการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 กับอาสาสมัครในระยะที่ 1 และต่อเนื่องไปจนถึงระยะที่ 2 ภายใต้การควบคุมดูแล จากหลายภาคส่วน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยวัคซีนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและความปลอดภัยขั้นสูงสุดสำหรับการทดสอบวัคซีน
การพัฒนาวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย สำหรับวัคซีน ChulaแCov19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่ได้รับการทดลองในสัตว์ เช่นหนู และ ลิง ตรวจพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่สูง ต่อมามีการทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านการคัดกรอง มีสุขภาพดีในระยะที่ 1 พบอาสาสมัคร มีภูมิคุ้มกันดี สามารถกระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์เดิม และ ยังสามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ใหม่ทั้ง 4 สายพันธุ์ อย่าง Alpha, Beta, Gamma และ Delta ปัจจุบันตอนนี้กำลังเดินหน้าผลิต และเตรียมการเพื่อขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉิน
จากการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆสำหรับประเทศไทย ที่สามารถพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ได้ตรงตาเป้าหมาย ซึ่งผลของมันทำให้มั่นใจความปลอดภัยที่สูงสุดของการทดลองวัคซีน สำหรับวัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือของแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีของโลกคือ Prof. Drew Weiisman มหาวิยาลัยเพนซิลวาเนีย ที่มุ่งเน้นให้เทคโนโลยี mRNA Vaccine สามารถเข้าถึงคนส่วนใหญ่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง หรือ รายได้ต่ำมาก
องค์ประกอบของ ChulaCov19
สำหรับวัคซีน ChulaCov19 ผลิตด้วยการสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยไม่มีใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วไปแล้ว จะทำการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น หรือ Spike Protein และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสกับตัวเชื้อ เมื่อวัคซีน mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่เกิน 6 วัน mRNA ก็จะสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกาย
ภาพจาก: chula.ac.th