เปิดข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง มีอำนาจอะไรบ้าง

เจาะลึกการประกาศสถานณ์การฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร

ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีการลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563 นั้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 วรรค 2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยเป็นการใช้อำนาจตาม พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามมาตรา 11 ที่ระบุว่าในกรณี ที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย, การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ ร่างกาย หรือมีเหตุอันควร ที่เชื่อได้ว่าเป็นการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ, ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐ หรือบุคคล ทำให้มีความจำเป็นที่จ้ต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกฌแินได้ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน โดยสถานการณ์ฉุกเฉินแบ่งออกเป็น 2 ระดับ

สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วไป (มาตรา 9) นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกข้อกำหนดทั้งหมดดังนี้

  • ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด
  • ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณที่ใดที่หนึ่ง
  • ห้ามเสนอข่าว หรือจำหน่ายซึ่งหนังสือ หรือสื่อใดๆที่อาจทำให้ประชาชนหวาดกลัวหรือเกิดความไม่สงบ
  • ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะที่กำหนด
  • ห้ามใช้อาคารหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
  • ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด

สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (มาตรา 11 และ มาตรา 12)

  • จับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกิน 7 วัน
  • ออกคำสั่งเรียกบุคคลมาให้ข้อมูล
  • ออกคำสั่งยึดสินค้าอุปโภค, บริโภค หรือ เคมีภัณฑ์
  • ออกคำสั่งตรวจค้น, รื้อ หรือ ทำลายอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้าง
  • ตรวจสอบจดหมาย, โทรเลข, โทรศัพท์ รวมไปถึงยับยั้งการสื่อสารใดๆ
  • การซื้อขาย, การใช้, หรือมีไว้ครอบครองซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภค รวมไปถึงเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าหน้าที่
  • ห้ามมิให้ผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้