ประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตน ที่ได้ผลกระทบจากการระบาดโควิดระลอกใหม่
สรุปความช่วยเหลือผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 ได้รับสิทธิ์อะไรบ้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผู้ประกันตนต้องทราบ
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่ประเทศไทยของเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทำให้พนักงานบริษัท และ ลูกจ้างจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ได้รับความเดือนร้อนไม่ต่างแตกจากการระบาดของเชื้อไวรัสรอบแรกในต้นปี 2020 สำหรับผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 ยังคงได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมอยู่บ้าง ความช่วยเหลือที่จะได้รับจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละมาตรา
ทาง ACCESSTRADE ประเทศไทย ได้รวบรวมบทสรุปมาให้ผู้ประกันตนได้เช็คสิทธิประกันสังคมแบบละเอียด ว่าผู้ประกันตนในแต่ละมาตราต่างๆ จะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง ในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รอบ 2 หรือ ระลอกใหม่ และจะต้อบทำการส่งเงินสมทบนานขนาดไหนถึงจะได้รับสิทธิ์ เรามีคำตอบทั้งหมดเลย
ประกันสังคม มาตรา 33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้แก่ มนุษย์เงินเดือน หรือ พนักงานบริษัท รวมไปถึงลูกจ้างบริษัทเอกชนที่ยังคงทำงานอยู่กับนายจ้างในอยู่สถานประกอบการ ปัจจุบันทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้างจะต้องส่งเงินสมทบให้กับประกันสังคมเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ทั้งนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกันตนในมาตรา 33 จะได้รับสิทธิหลายข้อทั้งกรณีรักษาพยาบาลและกรณีว่างงาน
ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา
สามารถตรวจหาฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หากเข้าเกณฑ์อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- มีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเร็ว, หายใจแล้วเหนื่อย, หายใจลำบาก, ลิ้นไม่สามารถรับรสได้ และ จมูกไม่ได้กลิ่น
- ผู้ป่วยมีประวัติเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
– เดินทางมาจกเขตติดเชื้อโควิด-19 หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
– มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยต้องสงสัย หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้ว
-เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันแล้ว
หากไม่สามารถเดินทางไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนอยู่ต่างจังหวัด หรืออยู่ต่างพื้นที่ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือ โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อน โดยสามารถทำการเบิกจ่ายในกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง หากผู้ประกันตนเข้าข่ายต้องสงสัยว่าติดเชื้อ และ จำเป็นจำต้องถูกกักกัน ให้แจ้งกับทางโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ถ้าหากไม่เข้าข่าว 2 ข้อด้านบน แต่ผู้ประกันตนมีความต้องการจะตรวจหาเชื้อ สามารถเข้าไปรับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลต่างๆ ที่รับตรวจโดยออกค่าใช้จ่ายเอง
ผู้ประกันตนป่วยด้วยโควิด-19 และ ต้องเข้ารับการรักษาตัว
หากผู้ประกันตนตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนการขายรายได้ 2 ช่องทางด้วยกัน
- ค่าจ้างจากนายจ้าง: สามารถใช้สิทธิ์ล่าป่วยโดยจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี
- เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม
ในกรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทางประกันสังคมจะทำการจ่ายเงินทดแทนให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดวันละ 250 บาท คิดจากอัตราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน คำนวนต่อปีไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนไม่เกิน 365 วัน แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้าง สำหรับวันลาป่วยครบ 30 วันจากการทำงาน 1 ปีปฏิทิน สำหรับผู้ประกันตนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน ถึงจะสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคมได้
*ผู้ที่มีสิทธิ์จะต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
เงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยแตกต่างจากการระบาดรอบแรกเมื่อต้นปี 2563
- ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน หรือ นายจ้างไม่ได้ทำงานให้ เนื่องจากจะต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค
- ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน จากสาเหตุนายจ้างประกาศหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้
ใครที่มีสิทธิ์บ้าง?
- ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน หรือว่าถูกรัฐสั่งให้กักตัว หากทำการส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือนจะไม่สามารถรับเงินชดเชยได้
- ลูกจ้างต้องไม่ได้รับค่าจ้างใดๆจากนายจ้าง ตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือ นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว ถ้าหากนายจ้างมีการจ่ายเงินให้บางส่วน หรือ ทั้งหมดตามปกติจะไม่สามารถขอรับเงินชดเชยจากทางประกันสังคมได้
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยเท่าไหร่?
ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนกักตัว หรือ เฝ้าระวังการระบาดของโรค รวมไปถึงเจอกับคำสั่งปิดสถานที่แล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 50% ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาด หรือมีคำสั่งปิดสถานที่แล้วแต่กรณี รวมกันไม่เกิน 90 วันดังนั้นจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท คิดยอดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
กรณีต่อไปนี้ ไม่สามารถขอรับเงินว่างงานจากประกันสังคมได้
- ผู้ประกันตนถูกปรับลดเงินเดือน
- ผู้ประกันตนยินยอมลางานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือ Leave without Pay
- สถานประกอบการหยุดชั่วคราว ลูกจ้างไม่ได้เข้ามาทำงาน หรือว่าไม่ได้ Work From Home แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินให้กับลูกจ้างอยู่ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม
- นายจ้างหยุดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และ ไม่ให้ลูกจ้างทำงาน ในกรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง 75% ของค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
กรณีลาออกจากงานเอง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยเท่าไหร่?
- ในกรณีผู้ประกันตนลาออกจากงานเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ไปจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 จะได้รับเงิน 45% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้นจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 6,750 บาท จากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
- สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน และ อายุยังไม่เกิน 55 ปี
ขั้นตอนในการขอรับสิทธิ์
- ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นให้ทำการกรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน และกรอกเลขหลังบัตรประชาชน หรือ Laser Code และจัได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานในระบบ
- หลังจากที่ทำการลงทะเบียนเสร็จแล้วให้ทำการยื่นคำขอ “รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน” สปส.2-01/7 e-form ในเว็บไซต์
- เข้าไปรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้งผ่านทางเว็บไซต์กรมการจัดหางาน
กรณีถูกเลิกจ้าง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยเท่าไหร่
ในกรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ไปจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 จะได้รับเงิน 70% จากค่าจ้างประจำวัน ไม่เกิน 200 วันเท่ากับว่าจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 10,500 บาท จากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
ใครที่มีสิทิ์บ้าง
- ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ทำการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน
- ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี
- ไม่ทำความผิดจนถูกให้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น ทุจริตต่อหน้าที่, ความผิดอาญาโดยเจตนากับนายจ้าง, ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร และ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ขั้นตอนในการขอรับสิทธิ์
- ลงทะเบียนกับทางเว็บไซต์ กรมจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเข้าสู่ระบบ และทำการกรอกข้อมูลจากบัตร ประชาชนพร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน จะได้รับรหัสผ่านเพื่อใช้งานในระบบ
- หลังจากที่ทำการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อย ให้ยื่นคำขอ “รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส.2-01/7 (e-form)
- รายงานตัวเดือนละ 1 ครั้งบนเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน
การจ่ายเงินสมทบ
- ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2564
- ผู้ประกันตนจะได้รับการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคมจากเดิมคือ 5% ลดลงเหลือ 3% เท่ากับว่าจากเดิมที่เคยส่งเงินสมทบสูงสุดเดือนละ 750 บาท จะลดลงเหลือ 450 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ประกันสังคม มาตรา 39
ผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 39 ได้แก่ พนักงานบริษัท, ลูกจ้างบริษัทเอกชน ที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 โดนมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงานแล้ว และไม่ได้ทำงานประจำ และได้ทำการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคมภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกซึ่งจะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กรณีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา
หากผู้ประกันตนตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนการขายรายได้ 2 ช่องทางด้วยกัน
- ค่าจ้างจากนายจ้าง: สามารถใช้สิทธิ์ล่าป่วยโดยจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี
- เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม
ในกรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทางประกันสังคมจะทำการจ่ายเงินทดแทนให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดวันละ 250 บาท คิดจากอัตราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน คำนวนต่อปีไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนไม่เกิน 365 วัน แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้าง สำหรับวันลาป่วยครบ 30 วันจากการทำงาน 1 ปีปฏิทิน สำหรับผู้ประกันตนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน ถึงจะสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคมได้
*ผู้ที่มีสิทธิ์จะต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร และ ชราภาพ ไม่คุ้มครองกรณีว่างงาน ดังนั้นผู้ประกันตนที่หยุดทำงานชั่วคราว หรือไม่ได้ทำงานประจำ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยากรณีว่างงานจากประกันสังคมได้
การส่งเงินสมทบ
- เดือนมกราคม 2564 – เดือนมีนาคม 2564
- มีการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบประกันสังคม จากเดิมจะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 432 บาท จะเหลือเพียงเดือนละ 278 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ประกันสังคม มาตรา 40
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้แก่บุคคลที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ ยกตัวอย่างเช่น พ่อค้า-แม่ค้า, เกษตรกร, ช่างก่อสร้าง, ฟรีแลนซ์, ขายของออนไลน์ ฯลฯ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่สมัครใจที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิ์ต่างๆ โดยจะเลือกจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก ตามรายละเอียดด้านล่าง
- ทางเลือกที่ 1: ทำการจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน รัฐจ่ายจ่ายสมทบ 30 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินจ่ายสมทบ 100 บาท ต่อเดือน
- ทางเลือกที่ 2: ทำการจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐจ่ายจ่ายสมทบ 50 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินจ่ายสมทบ 150 บาท ต่อเดือน
- ทางเลือกที่ 1: ทำการจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน รัฐจ่ายจ่ายสมทบ 30 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงินจ่ายสมทบ 150 บาท ต่อเดือน
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จะแตกต่างกันออกไปตามข้อมูลด้านล่าง
กรณีตรวจหาเชื้อและเข้ารับการรักษาพยาบาล
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากประกันสังคมตามมาตรา 40 ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาล หากต้องการจะใช้สิทธิ์ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา หรือรักษาพยาบาลเมื่อป่วยด้วยโควิด-19 จะต้องใช้สิทธิบัตรทองจาก สปสช.
กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป หรือในกรณีเป็นผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยตามข้อมูลด้านล่าง
กรณีว่างงาน
- หากผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือว่างงานเพราะว่าต้องปิดกิจการ จะไม่สามารถรับเงินเยียวยา กรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ เพราะสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ไม่คุ้มครอง
ส่งเงินสมทบ
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังคงต้องส่งเงินสมทบเท่าเดิม ไม่ได้มีการปรับลดอัตราการส่งเงินสมทยเหมือนกับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ ผู้ประกันตนมาตรา 39
หากผู้ประกันตนตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ประกันตนเข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือด้านไหน สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิ์นั้นๆได้ แต่ถ้ายังมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมมาตราต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านทางสำนักงานประกันสังคม หรือสามารถโทรติดต่อได้ที่เบอร์ 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง