เช็คสิทธิประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตราต่างๆ

สิทธิประกันสังคมมาตราต่างๆ ช่วยเหลืออะไรบ้างช่วงโควิด 2564

สรุปความช่วยเหลือ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 จะได้สิทธิอะไรบ้าง หลังจากที่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาดรอบใหม่ เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกันตนที่ควรทราบ

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยยังคงระบาดอยู่ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งตัวเลขการติดเชื้อของคนในประเทศไทย แต่ละวันพุ่งสูงขึ้นหลักหลายพันต่อวัน นับเป็นการระบาดรอบ 3 ที่รุนแรงที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งการระบาดครั้งนี้ เป็นการระบาดที่กระจายเป็นวงกว้างกว่าทุกครั้ง ส่งผลให้พนักงานบริษัท และ ลูกจ้างจำนวนไม่น้องที่ต้องตกงาน ไม่มีงานทำไม่มีจะกิน ได้รับความเดือดร้อนหนักมากจริงๆ

ในส่วนของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เช่น ผู้ประกันตนมาตรา 33, ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคม แต่จะแตกต่างออกไปตามแต่ละมาตรา วันนี้ทาง ACCESSTRADE ประเทศไทยได้สรุปมาให้ผู้ประกันตนได้อ่านแบบชัดๆ ว่าสิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน มาตราต่างๆจะได้รับความช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดอะไรบ้าง

เปิดรายละเอียดผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 คือใครบ้าง

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้แก่ พนักงาน หรือ มนุษย์เงินเดือน รวมไปถึงลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งนายจ้างจะส่งเงินสมทบให้เดือนละ 5% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 750 บาท
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้แก่ พนักงาน หรือ ลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยมีการจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงาน ซึ่งไม่ได้ทำงานประจำแล้ว และสมัครใจเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคมภายใน 6 เดือนหลังจากลาออก
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้แก่บุคคลที่ทำอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ยกตัวอย่างเช่น พ่อค้า, แม่ค้า, เกษตรกร, ช่างก่อสร้าง, ฟรีแลนซ์, ขายของออนไลน์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 แต่สมัครใจที่จะเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม เพื่อรับสิทธิต่างๆ

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ในกรณีตรวจโควิด 19

ตรวจโควิดฟรี ที่หน่วยตรวจโควิด 19 ของสำนักงานประกันสังคม

ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33, 39 และ 40 สามารถตรวจคัดกรองโควิดได้ฟรี ณ วัน-เวลา และ สถานที่ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ยกตัวอย่างเช่น การตรวจคัดกรองเชิงรุกตามสถานประกอบการ หรือหน่วยบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 เชิงรุก ที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เป็นต้น

ตรวจโควิดฟรี ที่สถานพยาบาลทั้งรัฐ และ เอกชน กรณีเข้าเกณฑ์กลุ่มเสีย่ง

สำหรับผู้ประกันตน ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสามารถทำการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลทั้งโรงพยาบาลของรัฐ และ เอกชนทุกแห่ง โดยผู้ที่เข้าข่ายตรวจฟรี มีรายละเอียดตามด้านล่าง

  • มีอาการทางเดินหายใจเช่น ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเร็ว, มีอาการหายใจลำบาก, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส
  • มีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ได้แก่
    -เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือ ผู้ป่วยยืนยัน
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน

รายละเอียดทั้งหมด จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ หากไม่เข้าเกณฑ์แต่อยากตรวจหาเชื้อ สามารถเข้าไปตรวจได้ที่สถานพยาบาลต่างๆ โดยจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

ตรวจสอบสิทธิผลประโยชน์กรณีรักษาโควิด 19

จากการตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์แล้วทางรัฐบาลได้ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้สิทธิตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มีสิทธิ์ทุกที่ หรือ UCEP ดังนั้นถ้าผู้ติดเชื้อโควิด 19 สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายซึ่งทางสถานพยาบาลเอกชน จะทำเรื่องเบิกเงินไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. และ สำนักงานประกันสังคมเพื่อจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลเอกชนโดยตรง ถ้าผู้ป่วยถูกเรียกเก็บเงินและได้จ่ายเงินไปแล้ว สามารถร้องเรียนที่สายด่วน 1330 ของสปสช. หรือ 1426 ของ สบส. เพื่อประสานงานขอเงินคืนได้

 

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *