1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแรงงาน
หลายประเทศทั่วโลกจะมีการให้ลูกจ้างแรงงานหยุดพักในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ในประเทศไทยก็เช่นกัน โดยถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีและไม่นานมานี้ทางครม.ได้มีการประชุมหารือการเลื่อนวันหยุดในเดือนพฤษภาคมออกไป แต่บทสรุปคือมีมติไม่เลื่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ (อ่านเพิ่มเติม: ครม. มีมติไม่เลื่อน 4 วันหยุดนักขัตฤกษ์) ดังนั้นวันนี้จึงขอมาสรุปความสำคัญของวันแรงงานให้ได้อ่านกัน
จำนวนแรงงานไทย
- ประเทศไทยมีกลุ่มผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่พร้อมเข้าสู่สถานะแรงงาน 56.57 ล้านคน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
แต่กลุ่มแรงงานทั้งหมดในไทย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 ล้านคน - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนแรงงานกว่า 9.5 ล้านคน ถือเป็นภาคที่มีแรงงานมากที่สุดในประเทศไทย
- ภาคกลางและภาคตะวันออกมีจำนวนแรงงานรวมกว่า 11.9 ล้านคน
- ภาคเหนือมีจำนวนแรงงาน 6.2 ล้านคน
- ภาคใต้มีจำนวนแรงงาน 5.1 ล้านคน
- กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีแรงงานมากที่สุด สูงถึง 5.3 ล้านคน
ความสำคัญของแรงงานไทย
แรงงานในส่วนของภาคธุรกิจและการบริการ กลุ่มลูกจ้างและพนักงานเป็นกำลังในการดำเนินกิจการและช่วยสร้างรายได้ เมื่อธุรกิจมีแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ก็มักจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้ดีด้วย ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและการบริการ โดยปัจจุบันมีแรงงานในธุรกิจต่างๆ ดังนี้
- ธุรกิจการศึกษา
- ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
- ธุรกิจการเงิน การลงทุน และที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
- ธุรกิจค้าปลีก
- ธุรกิจการผลิต
- ภาคเกษตรกรรมและการประมง
- ธุรกิจยานยนต์
- ธุรกิจการขนส่ง
- ธุรกิจการก่อสร้าง
- บริการอื่น ๆ
ปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแลระบบแรงงานไทยทั้งหมด ได้แก่ กระทรวงแรงงาน โดยแบ่งออกเป็นกรมการและหน่วยงานดังนี้
- กรมจัดหางาน
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- สำนักงานประกันสังคม
โดยมีช่องทางให้แรงงานติดต่อสอบถามข้อมูลต่างได้ที่ Call center กระทรวงแรงงาน โทร. 1506
ข้อมูลสถิติจาก: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม