ธุรกิจ Food Delivery เติบโตจริงหรือ?

ธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery)

ธุรกิจที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ คงไม่พ้นธุรกิจส่งอาหารหรือฟู้ดเดลิเวอรี่ เพราะในปัจจุบันที่มีวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลายคนทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อขณะที่เดินทางไปทำงานที่สถานทำงานที่ต่างๆ รวมถึงการกักตัวอยู่ที่บ้าน จำเป็นต้องมีการสั่งอาหาร ดังนั้น การใช้งานแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารจึงเกิดขึ้นมากมายเช่น Grab, Food Panda, Line Man, Get เป็นต้น และได้รับความนิยมสูงมาก และร้านค้าหรือร้านอาหารหลายร้านเริ่มหันมาจัดส่งถึงบ้านมากขึ้น


การเติบโตของธุรกิจ Food Delivery

แน่นอนว่าในแง่ของความนิยมของการใช้บริการแอปฯสั่งอาหารนั้นเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้ ธุรกิจตัวกลางอย่างแพลตฟอร์ต่างๆได้เงินจากการเก็บส่วนแบ่งจากร้านอาหารคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) แตกต่างกันไป และเก็บค่าบริการจากลูกค้า โดยอาจจะเก็บตามระยะทางหรือส่งฟรี หลายคนมองว่าธุรกิจนี้มีกำไรมหาศาล แต่ก็มีบทวิเคราะห์ถึงความเติบโตของธุรกิจนี้ออกมาว่าเกือบทุกเจ้าในตลาด Food Delivery ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้กำไรอย่างที่คิดนั้น เป็นเพราะอะไรกันล่ะ?


Food Delivery คือโมเดลธุรกิจแบบ Start-up

สาเหตุหลักของโมเดลธุรกิจแบบ Startup คือต้องทำให้ตลาดเกิดขึ้นก่อน เป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค หมายความว่าต้องลงทุนด้วยการแบกต้นทุนไปก่อน ทำให้อาจเกิดการขาดทุนในช่วงแรกก่อน ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่อย่าง Grab ที่มีรายงานผลประกอบการที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะการส่งอาหารแต่ละครั้ง จึงมีต้นทุนที่แท้จริงแฝงอยู่ในทุกครั้งที่ส่งอาหาร


ตัวอย่าง

ลูกค้าสั่งอาหารราคาบนแอปฯ 100 บาท ทางตัวกลางอย่าง Grab จะได้ส่วนแบ่งจากร้านค้าโดยคิดในอัตราสูงสุด 30 บาท ซึ่งหากส่งในระยะทาง 5 กิโลเมตรจะคิดค่าจัดส่งประมาณ 20 บาทจากผู้ใช้บริการ สรุปแล้ว Grab จะมีรายได้จากออเดอร์นี้ประมาณ 50 บาท

แต่นั่นไม่ใช่กำไรที่แท้จริงจากออเดอร์นั้นออเดอร์เดียว 50 บาท แต่รายได้นั้นยังไม่ได้คิดต้นทุนจ่ายให้พนักงานคนขับ Grab ที่คอยจัดส่งอาหารเฉลี่ยที่ 55 บาทต่อเที่ยว และค่าโปรโมชั่นส่วนลดที่ให้กับลูกค้าเฉลี่ยประมาณ 10 บาทต่อออเดอร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าโฆษณา ค่าธรรมเนียมช่องทางชำระเงิน โดยเฉลี่ยประมาณ 6 บาทต่อออเดอร์

สรุปแล้ว ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อ 1 ออเดอร์ จะอยู่ที่ประมาณ 71 บาท เมื่อนำมาลบกับรายได้จากออเดอร์ตัวอย่างข้างต้นที่มีอยู่ 50 บาท จึงทำให้ติดลบ -21 หรือขาดทุน 21 บาทต่อการสั่งอาหารหนึ่งครั้ง

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คือต้นทุนที่แท้จริงของแพลตฟอร์มสั่งอาหาร ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าต้นทุนธุรกิจ Food Delivery นั้นไม่ใช่น้อยๆ และปัจจุบันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วยคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นผู้แข่งในตลาดส่งอาหารยังไม่มีคู่แข่งที่เปิดตัวแรงเข้ามาเพิ่มขึ้นอีกแล้ว เนื่องจากการขาดทุนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา



 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *