กรมสรรพากร ขยายเวลายื่นภาษี

เช็คด่วน กรมสรรพากร ขยายเวลายื่นภาษี สำหรับประชาชนทั่วไป และ นิติบุคคล

ขยายเวลา สำหรับประชาชนทั่วไป และ นิติบุคคล สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อลดภาระของประชาชน ในช่วงโควิดระบาดระลอกใหม่

กรมสรรพากร ได้ออกมาขยายเวลาในการยื่นแบบภาษี 3 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการลดภาระในช่วงวิกฤติ ของโควิด 19 โดยเปิดเผย ไทม์ไลน์ ในการชำระ สำหรับ รายละเอียดต่างๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ด้านล่าง

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ในส่วนของการชำระภาษีเงินได้ หัก ณ ที่ จ่าย สำหรับ ภ.ง.ด. 1, แบบ ภ.ง.ด. 2, แบบ ภ.ง.ด. 3, แบบ ภ.ง.ด. 53 และ แบบ ภ.ง.ด. 54 ได้มีการกำหนดให้ขยายเวลาในการยื่นภาษี ถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบภาษี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ไปจนถึงเดือน มิถุนายน 2564

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แบบ ภ.พ. 30 และ แบบ ภ.พ. 36 ได้มีการขยายเวลาในการยื่นแบบถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ไปจนถึงเดือน มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่าน อินเทอร์เน็ต และในส่วนของผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยให้สามารถยื่นแบบ และชำระภาษีได้จนถึงวันสุดท้ายของเดือนที่จะต้องยื่นแบบนั้นๆ

จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด พบว่ามีผู้ประกอบการที่เข้าใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน และมีความคล่องตัวทางการเงินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับสิทธิในการขยายเวลาในการยื่นแบบ และชำระภาษีได้นานถึงสิ้นเดือนของเดือนที่จะต้องยื่นแบบ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดินที่จะต้องทำการยื่นภายในเดือน มีนาคม 2564 ให้ยื่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเท่านั้น

สรุปการขยายเวลายื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับข้อสรุปของการขยายเวลาในการยื่นแบบภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการสนับสนุนการทำธุรกรรมทางภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากที่บ้านหรือ Tax From Home เพื่อเป็นการช่วยลดความแออัดและความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องในมือประชาชน และผู้ประกอบการ ให้มีสภาพคล่องที่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงการคลังจะต้องบริหารจัดการ กระแสเงินสดเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการชำระภาษีที่เลื่อนออกไป