ค่าระวางเครื่องบินเพิ่มขึ้น 10 เท่า กระทบการส่งออกผัก-ผลไม้

ค่าแอร์เฟรท คืออะไร?

ค่าใช้จ่ายค่าระวาง (Freight Charge) จะมีการคิดค่าใช้จ่ายกรณีขนส่งทางเรือและทางเครื่องบิน โดยถ้านำเข้าส่งออกทางเครื่องบินจะคิดค่าระวางเป็นต่อกิโลกรัม เรียกว่า ค่าระวางสินค้าทางอากาศ (Air Freight) หรือเรียกทับศัพท์ว่า ค่าแอร์เฟรท นั่นเอง ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายค่าแอร์เฟรททางผู้ส่งออกจะต้องจ่าย แต่ในส่วนของการปรับอัตราค่าระวางสินค้าทางอากาศสูงขึ้นถึง 6-10 เท่า ขึ้นอยู่กับสายการบินที่ freight forwarder ทำการเช่าเหมาลำ ในเส้นทางการบินนั้นๆ


พิษโควิด-19 กระทบขนส่งทางอากาศ ค่าแอร์เฟรทพุ่ง 10 เท่า

หลายคนอาจจะได้อ่านข่าวจากสำนักข่าวว่ามีรายงานว่าผู้ส่งออก ผักผลไม้-ดอกไม้-ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์-ยานยนต์-อุปกรณ์การแพทย์ ผ่านทางเครื่องบิน (แอร์เฟรท) กำลังประสบปัญหา ดังนี้


  • การระงับเที่ยวบินโดยสาร แม้บางส่วนหันมาทำขนส่งสินค้า แต่การปรับระยะเวลาค่อนข้างมีจำกัด
  • การปรับเที่ยวบินโดยสารของสายการบินลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • การปรับอัตราค่าระวางสินค้าทางอากาศสูงขึ้นถึง 6-10 เท่า
  • การขยายช่วงเวลาห้ามอากาศยานทำการบิน ทั้งของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
  • ปัญหาความล่าช้าในการนำสินค้าออกจากท่าอากาศยาน ทำให้มีสินค้าตกค้างเป็นจำนวนมาก

ทำให้ส่งผลกระทบไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศ แม้จะได้รับการยกเว้น แต่กลับปรากฏค่าระวางบรรทุกสินค้าปรับราคาขึ้น 10 เท่าตัว โดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และสินค้าตกค้างส่วนใหญ่นั้น มักจะเป็นสินค้ากลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่ยานยนต์ กลุ่มผักและผลไม้ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้พรีเมี่ยมสำหรับส่งออกต่างประเทศ


ล่าสุดทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ออกประกาศให้มีการขยายช่วงเวลา ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) เป็นวันที่ 30 เมษายน 2563 (จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 18 เมษายน) ทำให้ผู้ส่งออกอาจจะต้องทำการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ต่อไป



ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *