มาตรการดูแลผลกระทบจากการเก็บภาษี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร?

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่จัดเก็บแทน ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ โดยจัดเก็บจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นต่อไป ซึ่งมีหลักการคำนวณแตกต่างจากแบบเก่า  วันนี้จึงมาสรุปให้ได้อ่านกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เริ่มบังคับใช้ปี 13 มีนาคม 2562 และจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ก่อนอื่นมาดูหลักการคำนวณภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่แบบเก่า ดังนี้

  • ภาษีโรงเรือนคำนวณจาก: 12.5% x ค่ารายปี
  • ภาษีบำรุงท้องที่คำนวณจาก: ราคาปานกลางของที่ดิน x อัตรา

ข้อควรรู้ก่อนการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2563-2564

  • ฐานภาษี คือ มูลค่า (ราคาประเมินทุนทรัพย์) ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้เสียภาษี ได้แก่
    • เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
    • เจ้าของห้องชุด
    • ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือ ทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้จัดเก็บภาษี
    • เทศบาล
    • องค์การบริหารส่วนตำบล
    • กรุงเทพมหานคร
    • เมืองพัทยา
  • การทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และอัตราภาษีสูงสุด
    • เกษตรกรรม 
      • ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
      • การจัดเก็บดูตามสภาพข้อเท็จจริง และกรณีทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์
    • ที่อยู่อาศัย 
      • บ้านหลังหลัก (เจ้าของบ้านและที่ดิน / เจ้าของเฉพาะตัวบ้านที่มีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์และทะเบียนบ้าน
      • บ้านหลังอื่นๆ เจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • ที่ดินรกร้างว่างเปล่า / ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
    • อื่นๆ
      • พาณิชยกรรม
      • อุตสาหกรรม
      • อาคารสำนักงาน
      • โรงแรม
      • ร้านอาหาร

อัตราการจัดเก็บภาษี

ประเภทที่ดิน มูลค่าที่ดิน (ลบ.) อัตรา (%)
เกษตรกรรม
อัตราเพดาน 0.15%*บุคคลธรรมดา
ได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท
แต่มูลค่าที่ดิน 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
และมูลค่าที่ดิน 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท
0-75

75-100

100-500

500-1,000

1,000 ขึ้นไป

0.01

0.03

0.05

0.07

0.1

บ้านพักอาศัย (หลังหลัก)
อัตราเพดาน 0.3%
0-10

10-50

50-75

75-100

100 ขึ้นไป

ยกเว้นภาษี

0.02

0.03

0.05

0.1

บ้านพักอาศัย + ที่ดิน (หลังหลัก)
อัตราเพดาน 0.3%
0-10

10-50

50-75

75-100

100 ขึ้นไป

ยกเว้นภาษี

0.03

0.05

0.1

บ้านพักอาศัย (หลังอื่น)
อัตราเพดาน 0.3%
0-10

10-50

50-75

75-100

100 ขึ้นไป

0.02

0.03

0.05

0.1

อื่นๆ / ที่รกร้างว่างเปล่า
อัตราเพดาน 1.2%

*ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพิ่มอัตราภาษี 0.3% ทุกๆ 3 ปี
แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%

0-50

50-200

200-1,000

1,000-5,000

5,000 ขึ้นไป

0.3

0.4

0.5

0.6

0.7

วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(ราคาประเมิน – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

มาตรการดูแลผลกระทบจากการเก็บภาษี

มาตรการดูแลผลกระทบจากการเก็บภาษี

 


อ้างอิงข้อมูลจาก: fpo.go.th



 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *