Economics Recession 'ภาวะเศรษฐกิจถดถอย' คืออะไร?

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คืออะไร?

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือ ภาวะที่เกิดขึ้นของการเติบโตของ GDP ติดลบอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (อย่างน้อย 2 ไตรมาสติดต่อกัน) ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Economics Recession คือ การหดตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยการเติบโตของ GDP ติดลบ และหลายครั้งใช้เวลาถึง 10 ปี ในการแก้ปัญหา

เมื่อไม่นานมานี้ทางเราได้มีการนำเสนอบทความเกี่ยวกับ วิกฤตเศรษฐกิจไทย ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และ สรุปภาพรวมและมูลค่าส่งออกไทยปี 2020 ไทยส่งออกสินค้าอะไรบ้าง? ให้ได้อ่านกันแล้วว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไรและการส่งออกที่มีการหดตัวของไทยกระทบกับอุตสาหกรรมใดในเดือนมกราคม 2020 นี้
โดยข้อมูลเหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องสู่การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของปีนี้อย่างชัดเจน ซึ่งการเกิดขึ้นของสงครามการค้าจีน-สหรัฐ สงครามราคาน้ำมัน และการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในช่วงปลายปีที่แล้วจนถีงต้นปี 2020 นี้ สิ่งที่กล่าวมา ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจไทยที่อาจจะเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทบต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา

ผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจถดถอยกับประเทศไทยในปี 2020

แน่นอนว่าจากข้อมูลการส่งออกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา บ่งบอกถึงข้อมูลการหดตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างชัดเจน อย่างที่ทราบกันดีว่าไทยพึ่งการส่งออกสู่งต่างประเทศ แต่การส่งออกของประเทศไทยติดลบ และมีการลดลงของการส่งออก ที่ไม่รวมภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงจากโรคระบาด แม้จะมีคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการควบคุมการแพร่ระบาดได้ภายใน 4 เดือน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีการคาดการณ์ว่า GDP ที่กำลังจะเติบโตติดลบแน่นอน ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า GDP ของประเทศไทยจะขยายตัวเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น และสิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก คือ หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบต่อปัจจัยด้านลบทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อรายได้ของครัวเรือน ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม>>สถิติการว่างงานในประเทศไทย 2020)

แต่อย่างไรก็ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของ GDP ที่ติดลบมีการกระทบต่อเศรษฐกิจหนักเป็นอย่างมากทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว เกิดการปิดตัวของโรงงานหรือห้างร้านต่างๆ และการเกิดการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม รวมถึงการที่เกิดผลกระทบจาก COVID-19 ที่ต่อเนื่องไปสักระยะ อาจเกิดการกักตุนอาหารและสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่งผลต่อระบบ Supply Chain ได้ ดังนั้นจึงแนะนำว่าการกักตุนอาหารควรทำเท่าที่จำเป็นสำหรับการกักตัว 14 วันหรือสำหรับหนึ่งสัปดาห์ก็เพียงพอ เพราะปัจจุบัน มีระบบบนแอพพลิเคชั่นที่สามารถสั่งสินค้าหรืออาหารเดลิเวอรี่จากซูเปอร์มาเก็ตถึงบ้านโดยตรงได้ เช่น Tops Online, Big C Online เป็นต้น ซึ่งการสั่งซื้อล่วงหน้า ทำให้ห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาเก็ตสามารถจัดการเตรียมได้อย่างเหมาะสมส่งผลกระทบต่อผู้อื่นน้อยลงนั่นเอง



ข้อมูลตัวเลขอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของธนาคารกสิกรไทย

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *