ตั้งเป้าหมายการตลาดที่ดีด้วยหลัก SMART

SMART คืออะไร?

  • หลัก SMART คือ หลักหรือแนวคิดในการตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ KPI ที่ดี และเป็นหลักที่ใช้สำหรับการตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเพื่อวัดผลการดำเนินงาน รวมถึงใช้ในการตั้งเป้าหมาย (Goal) และ วัตถุประสงค์ (Objective)
  • โดยหลัก SMART คือตัวอักษรย่อ โดยมีส่วนประกอบ 5 อย่างคือ  S = Specific, MMeasurable, AAchievable, RRealistic, TTimely รวมกันเป็น SMART


5 หลัก SMART สำหรับการตั้งเป้าหมายที่ดี

  1. Specific คือ เป้าหมายจะต้องมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรและต้องการอะไร

  2. Measurable คือ เป้าหมายจะต้องสามารถวัดได้ในทางสถิติได้ ควรกำหนดเป็นตัวเลข ซึ่งเป้าหมายวัดได้ด้วยตัวเลข จะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายนั้นสำเร็จหรือไม่สำเร็จ

  3. Achievable คือ เป้าหมายจะต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลได้จริง อยู่ในขอบเขต (Scope) ที่วางไว้ หรือควรตั้งเป้าหมายในสิ่งมันเป็นไปได้

  4. Realistic คือ การที่เป้าหมายจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง กล่าวง่ายๆ คือ ตั้งเป้าหมายให้สมเหตุสมผลกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขององค์กร

  5. Timely หมายถึง ตั้งเป้าหมายต้องมีการกำหนดช่วงระยะเวลาในการวัดผลที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น 1 เดือน, 1 ไตรมาส, หรือ 1 ปี

SMART กับ Digital Marketing (ตัวอย่างวิเคราะห์จาก Google Ads และ Google Analytics)

วัตถุประสงค์ทางการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ควรเป็นแบบ SMART ให้มีความเฉพาะเจาะจง วัดได้ บรรลุผล สมเหตุสมผลและมีเวลาที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามควรเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดเดียวกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ และวันนี้มีตัวอย่างของการกำหนด วัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการที่จะรวมไว้ในกลยุทธ์การตลาด ดังนี้

  1. การเพิ่มยอดขา
    การเพิ่มยอดขายหรือโอกาสในการขาย เป็นเป้าหมายสูงสุดในการทำการตลาดออนไลน์ สำหรับธุรกิจจำนวนมากเพราะช่วยเพิ่มรายได้และง่ายต่อการวัดผล โดยใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก หรือ KPI ว่าทำได้ตรงตามเป้าหมายหรือไม่ รวมถึงสามารถเปรียบเทียบแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจได้อีกด้วย
    ตัวอย่างของวัตถุประสงค์ของ SMART : “เพิ่มยอดขายขึ้น 10% จากลูกค้าปัจจุบัน ในเดือนเมษายน 2563”


  2. การปรับปรุง Conversion Rate
    อีกวัตถุประสงค์ทางการทำการตลาดออนไลน์รวมถึงการโฆษณาออนไลน์อย่าง Google Ads สามารถติดตามผลของ Traffic ได้ที่ Google Analytics ซึ่งสามารถตั้งค่าการติดตามเป้าหมายได้ โดยจะมีการรายงานผลของการเข้าชมเว็บไซต์หรือโฆษณาของคุณ ไม่ว่าจะเป็น traffic sources, campaigns, keywords, landing pages, locations และอื่นๆอีกมากมายที่สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผู้ใช้งานที่มีโอกาสเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วย
    ตัวอย่างเช่น: “ปรับปรุง organic traffic conversion rate 25% ภายในเดือนพฤษภาคม 2563”


  3. ร้อยละของผู้ใช้งานที่กลับเข้ามาอีกครั้ง (Returning Visitors)
    จำนวนผู้ใช้งานใหม่ (New Users) และผู้ใช้ที่กลับเข้ามาอีกครั้ง (Return Visitors) เป็นตัวชี้วัดที่มีอยู่ใน Google Analytics และง่ายต่อการติดตาม การรู้จำนวนผู้เข้าชมที่กลับมาเป็นเป้าหมายที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้คุณเห็นว่าธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพแค่ไหนต่อความภักดีของผู้เข้าชมและลูกค้า (Brand Loyalty) สิ่งนี้จะช่วยให้วัดผลได้ดี
    ตัวอย่างคือ: “ 15% ของผู้เข้าชมควรจะกลับมาภายในสิ้นปีนี้”


  4. การเพิ่มปริมาณ Organic Traffic
    Organic Traffic คือ จำนวนผู้เข้าชมหรือเข้าใช้งานจากหน้าผลของการค้นหาอย่าง Google จะถือว่าเป็นการรับส่งข้อมูลแบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์อาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรง แตกต่างจาก Google Ads ที่ซื้อเพื่อการโฆษณาถือเป็น Paid Traffic ปัจจุบันธุรกิจจำนวนมากมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการเข้าชมของผู้เข้าชมแบบ organic traffic จึงเริ่มหันมาทำ SEO (อ่านเพิ่มเติม: SEO คืออะไร? ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ของคุณจริงหรือ?) ที่ช่วยในเรื่องการจัดอันดับเว็บไซต์ให้อยู่หน้าแรกของการค้นหา รวมถึงการปรับปรุงบทความหรือคอนเทนท์บนเว็บไซต์ด้วยตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย  “ตั้งรับ Organic Trafficจาก Google จำนวน 20,000 ผู้เข้าชมต่อเดือนภายในสิ้นปีนี้”


  5. ลดอัตราการออกจากหน้าเว็บ (Bounce Rate)
    อัตราของการออกจากหน้าเว็บไซต์ เป็นอัตรา % ของคนที่เข้าสู่เว็บไซต์ของคุณและออก (เด้ง) จากเว็บไซต์ ซึ่งหากมีเปอร์เซนต์ที่สูง แสดงว่าเข้ามาแล้วออกจากเว็บทันที อาจจะเพราะคอนเทนท์ไม่น่าสนใจ หรือ เว็บโหลดข้อมูลช้าเกินไป นี่เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพเว็บไซต์ที่ชัดเจน เพราะเกือบทุกธุรกิจต้องการให้ผู้เยี่ยมชม ดำเนินการอื่นๆด้วย เช่น ซื้อสินค้า การติดต่อ การแชร์บทความ หรือดาวน์โหลด เป็นต้น และอัตรา Bounce Rate ที่ดีนั้นควรต่ำกว่า 50% แต่อย่างไรก็ตามอัตรานี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ
    ตัวอย่างวัตถุประสงค์: “ลด Bounce Rate ให้ต่ำกว่า 40% ภายในธันวาคม 2020”

ข้อมูลบางส่วนจาก mikencube.co.uk และ smartinsights.com



 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *