รัฐเตรียมเก็บภาษี 'e-service' จากผู้ให้บริการต่างประเทศ

การจัดเก็บภาษี ‘e-service’

  • เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ในที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ในส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-service) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องด้วยปัจจุบันมีการใช้บริการทางอี-เซอร์วิส จากต่างประเทศมากขึ้น ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางรูปแบบต่างๆ

  • โดยในประเทศไทยก็มีผู้ประกอบการไทยที่แบกรับภาระภาษีเช่นกัน จึงเห็นว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ทำรายได้ในไทยถือเป็นส่วนที่ช่วยให้การประกอบธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งนี้ จะเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายทางตรงอย่างเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชัน ที่มีการให้บริการรูปแบบต่างๆ ที่ช่วยให้ซื้อสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น เช่น
    • หนัง/ภาพยนตร์/ซีรี่ส์
    • เพลง
    • เกม
    • การจองโรงแรม

  • ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสรรพากรที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ทำรายได้ในไทยได้ แต่จากนี้เมื่อกฎหมาย พ.ร.บ. อีเซอร์วิส มีผลบังคับใช้ จะทำให้ธุรกิจยักษ์ดิจิทัลข้ามชาติจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่น
    • Google
    • Facebook
    • Netflix
    • Amazon
    • Booking
    • ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

พ.ร.บ. อีเซอร์วิส

  • การที่รัฐบาลเห็นชอบตามการเสนอให้ใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากเชื่อว่าผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม e-service รูปแบบต่างๆของต่างชาติ จะสามารถทำตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับอี-เซอร์วิสในไทย เพราะทั่วโลกก็ใช้กฎหมายลักษณะแบบเดียวกัน ตามมาตรฐานการเก็บภาษีทั่วโลก

  • กฎหมายนี้ถือว่าเป็นข้อดีในการประกอบการ เพราะประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่ในแถบ ASEAN และคนไทยมีพฤติกรรมหลักในการใช้สื่อโซเชียลออนไลน์ (อ่านเพิ่มเติม: บทสรุปสำคัญของ Digital Trends 2020 ของไทยกับการปรับตัวของนักการตลาดออนไลน์ ) ทั้งในการสื่อสารและดำรงชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำการตลาดของธุรกิจเกือบทุกประเภท

  • การเตรียมจัดเก็บภาษีนี้ถือว่าเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหมาะสม รวมถึงเป็นการปรับปรุงกฎหมายด้านภาษีไทยให้ทันสมัย สอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของต่างประเทศอีกด้วย

  • แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวยังต้องใช้เวลาอีก 6-12 เดือนในการเริ่มบังคับใช้ เพราะต้องมีขั้นตอนการเตรียมส่งร่าง พ.ร.บ.อีเซอร์วิสให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *